เรียงความ เรื่อง ปัญหาสิทธิมนุษยชน

 

เราคงจะเห็นได้ว่าประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นมีความสำคัญมากจึงอยากให้ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นประเด็นที่ควรมุ่งศึกษาทำความเข้าใจในวงกว้างมากขึ้น โดยอิงอยู่กับพื้นฐานของความชอบธรรม เพราะในโลกของเรายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในทุกมุมมองของโลกและสิทธิมนุษยชนนั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของคนทุกคนที่อยู่รวมกันในสังคม และยังเกี่ยวข้องกับ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง เป็นพื้นฐานของหลักการที่มุ่งไปสู่ประชาธิปไตยและพัฒนาสังคมให้มีความสงบสุขและเจริญ หากว่ามนุษย์รู้จักและเข้าใจยอมรับและเคารพในสิทธิมนุษยชนของกันและกัน

ปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ข้าเจ้าพบและมีประสบการณ์มาก็คือ ปัญหาสิทธิในการมีชีวิตและการอยู่รอด   ”ปัญหาสิทธิเด็ก และปัญหาเยาวชนในไทยนั้น เกิดขึ้นเพราะสังคมไทยปล่อยปละละเลยมานาน และมีการอ่อนข้อให้กับอบายมุขทุกประเภท อาทิ สุรา การพนัน สถานบริการต่าง ๆ ร้านเกมเถื่อนซึ่งหาความรับผิดชอบจากภาคราชการโดยตรงไม่ได้ มีวัฒนธรรมการ ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า”สถานการณ์สิทธิเด็กในประเทศไทย”ก็มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ก็มีปัญหาหมักหมมรอการแก้ไขอีกมาก ไม่เพียงประเด็นสิทธิเด็กที่มีชีวิตที่มีปัญหา กับ”สิทธิการมีชีวิตของเด็ก”ก็น่าเป็นห่วงมาก เพราะมีเด็กมากมายที่เสียชีวิตก่อนอายุ 5 ขวบโดยต้องย้ำว่าส่วนหนึ่งซึ่งมิใช่ส่วนน้อยเสียชีวิตจากการ”ถูกละเมิดสิทธิในการมีชีวิต”จากผู้ใหญ่ทั้งที่ไกลและใกล้ตัวเด็ก ข้าพเจ้าอยากจะให้รัฐประกันอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้ ให้มีการอยู่รอด และการพัฒนาของเด็ก”

แต่เมืองไทยวันนี้…เด็กยังมีปัญหาด้อยสิทธิในการพัฒนาและน่าตกใจ…ที่ “สิทธิการมีชีวิต” ก็ถือว่าวิกฤติมาก !!

 นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ข้าพเจ้าเคยพบและได้ถามมาโดยตรงจากเด็กแถวบ้านและที่อื่นๆซึ่งก็ได้ถามว่า 
       

“เมื่อโตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร”
      คำถามพื้นๆ ที่คนเป็นเด็กมักถูกผู้ใหญ่ถาม แม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็ถูกถามมาตั้งแต่เด็ก ส่วนคำตอบก็สุดแท้แต่ว่าใครชื่นชอบใคร หรือใครมีภาพความรู้สึกดีกับอาชีพหรือสิ่งใด

         แต่คำถามพื้นๆ ประโยคเดียวกันนี้ กลับไม่ธรรมดาสำหรับข้าพเจ้าเอง       
       “รู้ไหมข้าพเจ้าตกใจมาก ย้ำว่า ตกใจมากจริงๆ เพราะข้าพเจ้าได้ถามว่าถามว่า เมื่อโตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร กับเด็กวัยอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากจะลองถามเด็กว่ามองในมุมมองของเด็กเมื่อยังเป็นเด็กจะสามารถอธิบายความคิดของตนเองมาได้อย่างไร

           เมื่อเด็กตอบเขาตอบว่า  อยากเป็นพระเอก เพราะจะได้ข่มขืน นางเอก ส่วนเด็กผู้หญิงตอบว่า อยากเป็นนางเอก เพราะจะได้โดนพระเอกข่มขืน

         พอข้าพเจ้าได้ยินก็ตกใจไม่ใช่แค่ข้าพเจ้า ทุกคนที่ได้ยินเรื่องนี้ต่างก็ตกอกตกใจตามกันไป เพราะพระเอกกับนางเอกซึ่งได้ดูมาจากในละคร เข้าใจว่าคงมาจากละครเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีพระเอก นางเอกเล่นคู่กัน และมีฉากที่เด็กๆ จดจำและฝังใจ
        ที่น่าตกใจเพิ่มหนักเข้าไปอีก ก็คือ เหตุผลของเด็กที่ว่า เมื่อรักใครสักคนให้ข่มขืนไว้ก่อน สุดท้ายก็จะได้มาอยู่ด้วยกัน เหมือนพระเอกและนางเอกที่ลงเอยด้วยการอยู่ด้วยกัน
          “ผู้ใหญ่หลายคนฟังแล้วอาจจะขำในคำตอบของเด็กๆ แต่ข้าพเจ้ามองว่านี่คือวิกฤตของสังคมไทย ทุกวันนี้เราจะเห็นความรุนแรงอย่างเป็นรูปธรรมได้จากโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งทุกฉบับและทุกๆวัน ซึ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ความรักไม่สมหวังก็ฆ่าตัวตาย, ไปทำร้ายอีกฝ่ายเอาน้ำมันไปราดแล้วจุดไฟเผา , วางแผนฆ่าคนขับแท็กซี่เลียนแบบในเกม, รุมโทรมผู้หญิงเลียนแบบในละคร, เด็กภาคใต้ใช้ไฮเตอร์อาบน้ำ เพราะดูจากโฆษณาแล้วคิดว่าไฮเตอร์จะทำให้ตัวขาว, เด็กหญิงในจังหวัดราชบุรีขายตัวครั้งละ 50 บาท เพื่อนำเงินไปซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์ ตัวอย่างเหล่านี้กำลังสะท้อนให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กและเยาวชนในสังคมไทย”
        เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนสภาพปัญหาของเด็ก เยาวชน ครอบครัว และสังคมในยุคปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุปัจจัยที่คนเป็นพ่อแม่ก็คงรับทราบกันดีอยู่ อันเนื่องมาจากการที่ผู้ใหญ่ไม่ได้สร้างรากฐานของชีวิตที่แข็งแกร่งให้กับเด็ก
          เมื่อรากฐานของชีวิตไม่แข็งแรง เมื่อเด็กได้รับสื่อที่ไม่ได้มีการคัดกรอง ครอบครัวไม่ได้เป็นฐานที่มั่นของชีวิต โอกาสที่เด็กจะก้าวพลั้ง และขาดความเข้าใจว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือสิ่งใดควรหรือไม่ควร ก็เป็นปัญหามากยิ่งขึ้น  ประกอบกับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ในสังคมไทยยังคงมีปัญหาอยู่..!!!
        ประเด็นที่ ข้าพเจ้าอยากจะแนะนำครั้งนี้คือเรื่อง สิทธิเด็ก  คือ  สิทธิในชีวิตและการอยู่รอด สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง  สิทธิในการพัฒนา  สิทธิในการมีส่วนร่วม

      เรื่องสิทธิในการพัฒนาตนเองของเด็ก ระบุว่า เน้นทั้งด้านการพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญา การพัฒนาทางด้านร่างกาย อนุสัญญาฯ เน้นที่การเลี้ยงดูเด็กโดยพ่อแม่หรือในบางกรณีโดยรัฐ และระบุแต่เด็กมีสิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่เพียงพอต่อการพัฒนาการของเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ศีลธรรม และทางสังคม เด็กมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุข และการตรวจรักษาเพื่อให้เด็กพ้นจากโรคภัยที่ป้องกันรักษาได้และไม่ให้โรคภัยดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กมีสิทธิที่ได้

       และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ สิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษา อันเป็นพื้นฐานและมาตรการที่จำเป็นต่อการพัฒนาของเด็ก
         อนุสัญญาเน้นว่าเด็กมีสิทธิได้รับการศึกษาเพื่อให้เด็กได้พัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษ และความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก ให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน ให้เด็กได้พัฒนาความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เป็นการเตรียมเด็กให้มีชีวิตและมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เสรีด้วยจิตสำนึกแห่งความเข้าใจ สันติภาพ ความอดกลั้น ความเสมอภาคทางเพศ และมิตรภาพในหมู่มวลมนุษย์ไม่แยกว่าเป็นกลุ่มใด ทั้งให้มีความเคารพต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและเคารพต่อบิดามารดา เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษาและค่านิยมต่างๆ ทั้งที่เป็นของตนเองและที่แตกต่างไป
       สิทธิในการศึกษานั้นอยู่บนพื้นฐานที่จะต้องให้เด็กมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน โดยรัฐจะต้องจัดการศึกษาภาคบังคับในระดับชั้นประถมให้ทั่วถึง โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากเด็กทุกคน
        และต้องส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาในระดับขั้นมัธยมในรูปแบบที่หลากหลายและการศึกษาวิชาชีพ เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสที่เข้าศึกษาได้ โดยรัฐอาจจัดมาตรการที่เหมาะสม เช่น การจัดการศึกษาให้โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือจัดให้มีความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการศึกษาในกรณีจำเป็นในด้านการศึกษาที่สูงกว่าชั้นมัธยมนั้น รัฐต้องจัดให้เด็กทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกันตามความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก และรัฐต้องจัดมาตรการส่งเสริมให้เด็กมาเรียนโดยสม่ำเสมอและลดจำนวนเด็กที่ออกจากโรงเรียนกลางคั่น
         อนุสัญญาฯ ครอบคลุมถึงเด็กทุกคนที่อยู่ในเขตอำนาจของรัฐนั้น ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดตามหลักการไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้น เด็กไม่ว่าจะมีสัญชาติใด และไม่ว่าการอยู่ในเขตอำนาจของรัฐนั้นจะมีสถานะที่ถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาภาคบังคับและมีสิทธิที่จะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับการศึกษาที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ
        การคุ้มครองเด็กเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของชาติ หากปล่อยให้เด็กซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดของประเทศชาติ ไม่ได้รับการเลี้ยงดูพัฒนาอย่างเต็มที่และเหมาะสม หรือถูกทำลาย ทำให้เสียประสิทธิภาพเป็นจำนวนมาก รัฐจะขาดกำลังสำคัญของมนุษย์ที่จะเติบโตขึ้นมาดูแลรักษาสังคมนั้นต่อไปในอนาคต      

 สุดท้ายเด็กเหล่านี้อาจจะกลายเป็นบุคคลที่สังคมต้องใช้ทรัพยากรมาดูแลรักษาอีกต่างหาก
          ดังนั้น การกำหนดอนาคตของประเทศใดประเทศหนึ่งว่าจะเจริญรุ่งเรืองหรือตกต่ำ สามารถทำนายได้โดยศึกษาจากวิธีการปฏิบัติ การคุ้มครองสิทธิเด็ก และการพัฒนาเด็กในสังคมนั้นๆ ว่าได้ทำอย่างไร และจริงจังหรือไม่..!! เรื่องสิทธิเด็กในการพัฒนาตนเอง เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องตระหนัก และให้ความสำคัญอย่างจริงจัง โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ต้องให้ความใส่ใจ เพราะการมีชีวิตให้อยู่รอดเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบเพียงพอสำหรับสังคมในยุคที่เต็มไปด้วยความสลับซับซ้อน และวิกฤตปัญหาสังคมในทุกวันนี้ซะแล้ว
       
       จะว่าไปแล้วประโยคที่ตั้งคำถามกับเด็กๆ ก็บอกเล่าเรื่องราว และเป็นดัชนีชี้วัดสังคมในช่วงขณะนั้นๆ ได้ในระดับหนึ่งทีเดียว ว่าแล้ว…คุณลองถามเด็กๆ รอบข้างคุณก็ได้ค่ะว่า “เมื่อโตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร”

 

นางสาว  จิตพิสุทธิ์ แก้วแสนทิพย์ คณะบัญชีและการจัดการ  สาขา  การจัดการ รหัสนิสิต 52010911091

 

Posted in Uncategorized | 3 Comments